วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รายงานผลประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2558

รายงานผลประจำวันของครูศรช.ตำบลพระบาท
วันที่ 17 กรกฎาคม 2558

       เวลา 08.00 น. ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง ต้องตื่นเช้าทุก ๆ วันเพราะต้องมาส่งลูกสาว 555 ซึ่งในเช้าวันนี้ฝนตกปรอย ๆ บรรยากาศดี งานที่ต้องปฎิบัติมีมากมาย  แต่ก็ได้มาเปิด Blogger ดูความคิดเห็นก่อน(ตื่นเต้นว่าท่านผอ.จะแสดงความคิดเห็นว่าอย่างไร)
   เวลา 10.00 - 12.00 น. ได้เข้ารับชมรายการETVการอบรมครู หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อETV ครั้งที่ 17 ซึ่งเป็นการอบรมครั้งสุดท้ายแล้ว(ยิ้มนิดๆๆ555)เรื่องการสรุปผลการอบรมตามหลักสูตรฯโดยมีท่านเลขาธิการกศน. รองเลขาธิการกศน.ร่วมเป็นผู้แสดงความคิดเห็นด้วยและยังมีการแสดงความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับท่านผอ.อำเภอต่าง ๆ ในแต่ละภาค ศึกษานิเทศน์ และครูกศน.ตำบล เพื่อสะท้อนผลของการอบรมในครั้งนี้ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้างเพื่อที่จะได้นำข้อมูลหรือความคิดเห็นต่างๆที่แต่ละท่านได้แสดงความคิดเห็นนำมาปรับปรุงแก้ไข และในการอบรมครั้งนี้ท่านเลขาธิการกศน.นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ได้ให้เกียรติมาตอบคำถามและปิดการอบรมด้วยตนเอง จากการอบรมการรับชมรายการETVในครั้งนี้ข้าพเจ้าสรุปผลการอบรมได้ ดังนี้

1.เสียงสะท้อนจากผู้บริหารและศึกษานิเทศน์พบว่ามีความยินดีและดีใจที่ทางสำนักงานกศน.ได้จัดการอบรมหลักสูตรนี้ขึ้นมาเพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพของครูกศน.ตำบลในระดับหนึ่งให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เกิดกับผู้เรียนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ ONIE MODEL โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ และนี้เป็นบทบาทที่สำคัญของครู ที่ต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาและมีข้อเสนอแนะที่แต่ละท่านได้แสดงความคิดเห็นโดยครั้งต่อไปถ้ามีการอบรมอีก ให้เป็นอาทิตย์ละครั้ง และกำหนดช่วงวัน เวลา ที่แน่นอน เพื่อที่ครูจะได้เตรียมตัวเข้ารับการอบรมได้โดยไม่กระทบกับภาคีเครือข่ายหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆที่ทางครูได้เตรียมไว้

2.เสียงสะท้อนจากครูกศน.ตำบล พบว่าครูกศน.ตำบลได้รับความรู้ในการอบรมจากหลักสูตรนี้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในเรื่องของการวิเคราะห์ผู้เรียน การเขียนแผนการสอนรายภาค/รายสัปดาห์ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ ONIE MODEL การออกข้อสอบ และการวัดผลประเมินผล และในบางพื้นที่ครูมีการเข้าออกบ่อยจึงถือว่าการอบรมในครั้งนี้ทำให้ครูที่มาปฏิบัติใหม่ได้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นส่วนครูเก่าก็ได้ทบทวนตามความรู้เดิมตามไปด้วย และมีการวิพากษ์คลิปการสอนของครูแต่ละคนในการอบรมแต่ละสัปดาห์ ครูสามารถนำเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนมาถ่ายทอดให้ครูที่รับชมได้เพื่อที่ครูจะนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในกศน.ตำบลของตนเองได้
เสร็จจากการอบรมพักรับประทานอาหารกลางวัน(กลางวันนี้กินก๋วยเตี๋ยวรสเจ็บๆๆๆๆๆเผ็ดมาก ๆ )
      เวลา 13.30 - 16.30 น. ได้เข้าร่วมประชุมวางแผนเพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง โดยมีท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ เป็นผู้เปิดประชุมในประเด็นที่ว่า "คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเข้ามาในห้องสมุดประชาชาชนจังหวัดลำปาง" ครูแต่ละคนได้ให้คำตอบว่าห้องประชาชาชนดูเก่า ไม่มีสีสัน มืดไม่มีแสงสว่างที่เพียงพอ มุมต่างๆไม่น่าสนไม่มีจุดเด่นเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ ทั้งภายในและภายนอกอาคารไม่มีความสวยงาม ป้ายห้องสมุดมองเห็นไม่ชัดเจน มีต้นไม้รกปกคลุม ทำให้มองไม่เห็นป้านห้องสมุด จากความคิดเห็นของครูทุกคนแล้ว ท่านผอ.จึงได้จัดหมวดหมู่กิจกรรมที่จะจัดเพื่อพัฒนาห้องสมุดตามที่ครูได้เสนอแนะมา ได้แก่ การจัดมุมต่างๆให้ทันสมัยน่าสนใจ น่าเข้าไปใช้บริการ เช่น มุมอาเซียน มุมเด็กและเยาวชน มุม ICT มุมเฉลิมพระเกียรติ มุมเศรษฐกิจพอเพียง ห้องโฮมเซียเตอร์ ฯลฯ และต้องปรับภูมิทัศน์ทั้งภายนอกและภายในอาหารให้สวยงามสะดุดตาน่ามองน่าเข้ามาใช้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าและครูกศน.ตำบลบ้านเอื้อมและตำบลหัวเวียง ตำบลชมพู ได้เลือกการจัดมุมอาเซียน ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนครูกศน.ที่ได้รับผิดชอบกิจกรรมนี้ได้สำรวจบริเวณหน้าห้องสมุดตรงทางเข้า(มุมอาเซียนเดิม)ก็ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าให้ห้องควรจะมีทีวีที่ทันสมัย และตรงล๊อกด้านล่างให้จัดเ)็นความรู้ของประเทศอาเซียนแต่ละประเทศ มุมทางเข้ามีเก้าอี้โซฟาว่างไว้ให้นั่งศึกษาหาความรู้จากสื่อที่มีในห้อง ด้านนอกมีการปูพรมและมีการที่สำหรับให้ผู้รับบริการได้เข้ามาใช้ มีเก้าอี้ให้นั่ง มีหนังสือให้อ่านตามความเหมาะสม สมาชิกในกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นมากมาย และนำเสนอผู้บริหารถึงการจัดมุมอาเซียนของกลุ่มที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ



              ข้าพเจ้าและเพื่อนครูในกลุ่มต่างคิดหนักว่าเราจะทำได้ออกมาดีไหม นั้นเป็นปัญหาหลักที่ทางกุล่มคิด แต่การทำงานบางครั้งก็ต้องมีปัญหาอุปสรรค  ข้าพเจ้าและสมาชิกในกลุ่มจะพยายามทำให้ดีที่สุด

2 ความคิดเห็น: